:: ครูนวพร ::

  • Today’s Photo

  • Calendar:

    กรกฎาคม 2009
    อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1234
    567891011
    12131415161718
    19202122232425
    262728293031  
  • Archieves:

  • จำนวนผู้เข้าชม

    • 524,348 hits

Archive for กรกฎาคม, 2009

สมุนไพรพื้นบ้านช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร!

Posted by Kru nawaporn บน กรกฎาคม 31, 2009

clip_image002             ความดันโลหิตสูง โรคที่คนเราทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งหัวใจของคนเราเต้น 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

              โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตที่น่ากลัว เพราะไม่มีอาการเตือน ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเผชิญภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ คุณรู้ไหมว่าทุกวันนี้สมุนไพรพื้นบ้านของไทยมีสรรพคุณลดความดันโลหิตสูงได้ดีไม่แพ้ยาของต่างชาติเลย และเพื่อเป็นการป้องกันหลีกเลี่ยงโรคความดันโลหิตสูงวันนี้

Tips สุขภาพ มีเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันดังนี้

 

               ใบทองพันชั่ง นำใบที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไปนำมาตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1 หยิบมือหรือประมาณ 20 ใบ ผสมกับชาจีน 1 หยิบมือ หลังจากนั้นใช้ชงในน้ำร้อนปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำมารับประทานวันละ3 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็น 5-7 วันติดต่อกัน แต่หากรับประทานไปแล้วความดันโลหิตยังสูงอยู่ก็ควรรับประทานต่อไปอีก 5-7 วัน จนกว่าความดันนั้นจะลดลงเป็นปกติแล้ว

               ต่อมา กระเทียม ให้ซอยกระเทียมสดประมาณครึ่งช้อนชา กินพร้อมอาหารวันละ 2-3 ครั้งหรืออาจจะเคี้ยวกระเทียมกินสดๆ ก็ได้ ที่สำคัญห้ามกินตอนท้องว่าง เพราะฤทธิ์ร้อนของกระเทียมจะทำให้แสบกระเพาะได้

                ขึ้นฉ่าย วิธีการนำขึ้นฉ่ายมารักษานั้นให้เลือกต้นสดๆ มาตำ คั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือใช้ต้นสด 1-2  กำมือตำให้ละเอียดต้มกับน้ำ แล้วกรองเอากากออก ใช้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหาร หรือกินเป็นผักสดผสมในอาหารก็ได้

                สมุนไพรชนิดต่อมากาฝากมะม่วง ใช้กาฝากของต้นมะม่วง นำมาตากแห้งต้มน้ำดื่มต่างน้ำชาหรือตากแห้งคั่วแล้วชงดื่ม วิธีการทำ เอาน้ำใส่หม้อต้มใส่กาฝากมะม่วงที่ตากแห้งแล้วลงไปต้มให้เดือดและเคี่ยวจนกว่าน้ำของกาฝากจะออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ที่ก็สามารถนำมาดื่มเป็นน้ำชา หรือดื่มแทนน้ำได้ตลอดเวลาที่หิวน้ำ

                กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคยกันดี น้ำกระเจี๊ยบจะมีสีสวย รสเปรี้ยวหวานหอม กินแล้วสดชื่นพบมากในเขตร้อน กลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ส่วนที่ใช้ลดอาการความดันโลหิตสูงก็คือส่วนของกลีบเลี้ยง วิธีการเพียงนำกลีบเลี้ยงที่แห้งต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนกินเป็นชากระเจี๊ยบ นอกจากจะช่วยลดอาการความดันโลหิตสูงแล้วยังช่วยลดคอเลสเตอรอล แก้นิ่ว และลดไข้ได้อีกด้วย

                ต่อมาเป็นใบบัวบก ในตำรายาไทยทั่วไปใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน หากนำต้นสดจำนวน 1-2  กำมือ มาต้มกับน้ำดื่ม แล้วดื่มเป็นประจำก็จะสามารถลดอาการความดันโลหิตสูงได้ แต่ที่น่าพิศวงมากกว่านั้นก็คือ ใบบัวบกสามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ เพียงนำต้นสด 1 กำมือล้างแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาวันละ 3-4 ครั้งรับรองแผลหาย ส่วนคนที่เป็นโรคตับ ตับโต ตับอักเสบ ใช้ต้นสดของใบบัวบก 240-550 กรัม ต้มคั้นเอาน้ำขนาดชามใหญ่ดื่มทุกวันอาการจะค่อยๆ ทุเลาจนดีขึ้นในที่สุด

               หญ้าหนวดแมว ตามตำรายาไทยนอกจากใช้แก้โรคปวดตามสันหลังและเอวใช้ขับนิ่วแล้ว หญ้าหนวดแมวยังสามารถช่วยอาการลดความดันโลหิตสูงได้  เพียงนำใบไปตากจนแห้ง หลังจากนั้นนำมาชงกับน้ำ ดื่มเป็นประจำจนกว่าอาการความดันจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่สิ่งที่ควรจำไว้ก็คือหญ้าหนวดแมวมีเกลือโพแทสเซียมอยู่ในปริมาณสูง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้คู่กับยาแอสไพริน และผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ หากไม่มั่นใจต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนำมาดื่ม

                นอกจากนี้แล้วสมุนไพรอื่นๆ ที่มักเป็นส่วนผสมอยู่ในอาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน อาทิ ขิง ขี้เหล็ก ผักชี ผักชีฝรั่ง มะขาม แมงลัก ก็สามารถช่วยลดอาการโรคความดันโลหิตสูงได้  หากเจอสมุนไพรเหล่านี้ในอาหารอย่าเขี่ยทิ้งลงถังหรือข้างขอบจานเหมือนที่ผ่านมา ทานเถอะจะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้

ขอบคุณที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Posted in สุขภาพ และโภชนาการ | Tagged: , , | Leave a Comment »

Walk, Don’t Run เดินเพื่อสุขภาพ

Posted by Kru nawaporn บน กรกฎาคม 29, 2009

ลดเสี่ยงภาวะโรคเรื้อรังได้กว่า 40%clip_image002 

           การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายโดยรวม โดยเฉพาะความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ แต่หลายๆ คนพอได้รับฟังว่าควรออกกำลังกายบ้าง ก็นึกถึงการเล่นกีฬากลางแจ้ง การเล่น Weight Training การเต้นแอโรบิค การวิ่งจ๊อกกิ้ง การถีบจักรยาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องเสียเหงื่อในปริมาณมาก และเกิดอาการเมื่อยล้าได้ง่าย

          ในปัจจุบันทางการแพทย์ พบว่า การออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือ การเดิน เดินเร็ว (ประมาณ 5.0 – 7.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) นาน 30 นาที สัปดาห์ละ 5 – 6 วัน จากรายงานของ Dr. JoAnn Manson แห่ง Harvard’s Brigham and Women’s Hospital รายงานว่า การออกกำลังกายโดยการเดินเร็วนี้ สามารถช่วยลดอัตราการเกิดภาวะเรื้อรังของโรคต่างๆ ได้มากถึง 30 – 40 % แน่นอนในระยะแรกคุณอาจไม่รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย แต่ในระยะยาวแล้ว คุณจะพบว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น สามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้

          โรคที่ว่านั้นก็คือ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ ภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง การออกกำลังกายโดยการเดินอยู่เป็นประจำ จะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีสภาพแข็งแรงขึ้น 

          นอกจากนี้ ยังช่วยลดระดับความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นการสร้าง  HDL (High Density Lipoprotein) มากขึ้น ช่วยลดความหนืดของเลือด ป้องกันภาวะเลือดเกาะตัวกันเป็นก้อน ทำให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด

          อาการเบาหวาน การเดินเร็วเป็นเวลา 30 นาทีต่อวันนี้ สามารถป้องกันการเกิด หรือบรรเทาอาการเบาหวาน (Type II Diabetes Mellitus) โดยเฉพาะในผู้ที่น้ำหนักตัวมากกว่าปกติ 

          ภาวะกระดูกพรุน และ ภาวะไขข้ออักเสบ การเดินเร็วนี้ นอกจากจะเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายดูดซึม Calcium ได้มากขึ้น ป้องกันภาวะกระดูกพรุน อีกทั้ง การเดินจะช่วยลดแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นที่ข้อต่อได้ (ซึ่งการวิ่งจะทำให้ข้อต่อต้องรับการกระแทกที่มากกว่า) การที่กล้ามเนื้อรอบข้อต่อแข็งแรงขึ้น ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคไขข้ออักเสบได้ด้วย การเดินในสระน้ำ ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการไขข้ออักเสบได้ (ควรเดินสัปดาห์ละ 5 – 6 วัน เพื่อให้เวลาพักแก่ไขข้อบ้าง) 

          โรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน การเดินเร็วเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที นอกจากจะช่วยเผาผลาญพลังงานได้ 200 – 300 แคลอรี่แล้ว ยังสามารถกระตุ้นอัตราการเผาผลาญพลังงานในภาวะปกติ (Metabolic Rate) ได้มากขึ้น และหากทำการเดินมากกว่า 30 นาที ร่างกายก็เริ่มจะมีการเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ให้เป็นพลังงาน สามารถลดน้ำหนักได้ 

          ภาวะซึมเศร้า การเดินเร็วนี้เป็นสันทนาการอย่างหนึ่ง ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดี จากรายงานนี้พบว่าผู้ป่วยอาการซึมเศร้าที่ไม่ได้รับยารักษา หลังจากออกกำลังกายโดยการเดินเร็วอยู่เป็นประจำนาน 10 เดือนแล้ว จะมีอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้านี้น้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาเพียงอย่างเดียว 

          อาการท้องผูก การเดินเร็วนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะบริเวณลำไส้มีการเคลื่อนไหวตัวมากขึ้น ทำให้สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมถึงลดการสะสมของสารพิษตามเซลล์ไขมัน ตับและไต ได้

          การออกกำลังกายโดยการเดินนี้ ไม่ได้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ทุกโรค และไม่ได้เกิดประโยชน์เร็วในช่วงข้ามคืน หรือภายในสัปดาห์เท่านั้น

          แต่คุณสามารถรักษาสุขภาพโดยรวมของคุณให้แข็งแรงได้ แม้ในยามที่คุณแก่ตัวลงไปแล้ว ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับใครเลยในการมีสุขภาพที่ดี แต่ความสำคัญอยู่ที่ความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายเท่านั้น 

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า 

Posted in กีฬา การออกกำลังกาย | Tagged: , , | Leave a Comment »

วิธีคิดเพื่อชีวิตเป็นบวก

Posted by Kru nawaporn บน กรกฎาคม 29, 2009

เคยไหมเครียดกับปัญหา จนรู้สึกบั่นทอนกำลังใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ? แต่!! รู้หรือไม่ การนำหลัก Positive Thinking มาใช้ ช่วยให้เราผ่านพ้นสถานการณ์ที่คิดว่าย่ำแย่ไปได้ เพราะความมหัศจรรย์ของการคิดบวก นอกจากจะช่วยให้ไม่กดดันตัวเองแล้ว ยังเป็นการสร้างกำลังใจให้พร้อมลุยกับปัญหาได้อย่างมั่นใจ ‘เกร็ดน่ารู้’ สัปดาห์นี้ มีวิธีคิดบวก เพื่อชีวิตที่เป็นบวกมาฝากกัน

1.สร้างความเชื่อมั่น ว่า ‘เราต้องทำได้’ ไม่ว่าจะเจอปัญหาใด ๆ ให้มองด้านบวกไว้ แม้จะคิดว่าจัดการไม่ได้ทั้งหมด แต่เชื่อเถอะว่าคุณสามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ หลักสำคัญคือการตั้งสติศึกษาปัญหา แล้วค่อย ๆ แก้ไข ขอเพียงหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่า ‘ฉันทำไม่ได้แน่ ๆ’

2.สร้างจินตนาการ ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะต่อสู้กับอุปสรรค และอยากทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป รวมไปถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มองทุกอย่างด้วยความเป็นกลาง เพื่อชีวิตที่สมดุล

3.คิดถึงความสำเร็จ แม้ทางไปสู่จุดหมายจะพบอุปสรรคบ้างก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่สำคัญไม่ควรมองตัวเองว่าไม่มีความสามารถ และ ‘อย่านำตัวเองไปเปรียบกับใคร’ เพราะเราไม่ใช่ใคร และใครก็ไม่ใช่เรา แต่ละคนมีทักษะต่างกัน แค่ตั้งใจทำให้ดีที่สุดก็พอแล้ว

4.คิดมีเหตุผล เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในเรื่องต่าง ๆ อย่าโทษตัวเองทุกเรื่อง และอย่าคิดว่าครั้งต่อ ๆ ไปก็จะผิดพลาดตลอด ควรใช้หลักการคิดอย่างมีเหตุผล เพราะหลายคนมักประเมินมาตรฐานตนเองต่ำเกินไป จึงยิ่งบั่นทอนความมั่นใจให้ลดน้อยลง

แนวทาง ‘คิดบวก’ เพียงเท่านี้ นอกจากจะช่วยโบกมือบ๊าย บาย อุปสรรคทางความคิด ‘กลัว’ แล้ว ยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้ชีวิตเป็นบวกได้ง่าย ๆ ด้วย.

‘รัตติกาล’
rattikarnt@dailynews.co.th

Posted in นานาสาระ ... | Tagged: , , | Leave a Comment »