:: ครูนวพร ::

  • Today’s Photo

  • Calendar:

    มิถุนายน 2009
    อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     123456
    78910111213
    14151617181920
    21222324252627
    282930  
  • Archieves:

  • จำนวนผู้เข้าชม

    • 524,339 hits

วิธีลดปัจจัยเสี่ยงอัลไซเมอร์

Posted by Kru nawaporn บน มิถุนายน 19, 2009

clip_image002แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะรักษาไม่หาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีแนวทางป้องกัน ซึ่งมีรายงานจากต่างประเทศอ้างว่า การออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยผู้ทำการวิจัยและทดลองคือ ดร.อีริค บี ลาร์สัน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพในซีแอตเติล ดร.อีริคได้ทำการทดลองตั้งแต่ปี 1994-2003 โดยการเลือกชายหญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 1,740 คน ซึ่งมีรูปร่าง สภาวะทางจิตใจ และการดำเนินชีวิตหลากหลาย แต่ทุกคนไม่มีอาการของโรคหรือได้รับการรักษา ณ ขณะนั้น

ทุกๆ 2 ปี ทาง ดร.อีริค และคณะจะสัมภาษณ์กลุ่มผู้สูงอายุนี้ทีละคน เพื่อประเมินกิจกรรมที่ปฏิบัติต่อสัปดาห์ เช่น การเดิน การยืน การออกแรงกำสิ่งของ การทรงตัว ความจำ สมาธิ การสูบบุหรี่ การดื่ม และการรับประทานอาหาร และจากการศึกษาตลอดพบว่า ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายเป็นประจำตั้งแต่เริ่มการทดลอง ด้วยการเดิน 15 นาทีต่อ 1 วัน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ถึง 32% เมื่อเทียบกับคนที่ออกกำลังกายน้อยกว่านั้น

สุดท้าย ดร.อีริค กล่าวเพิ่มเติมจากผลการทดลองนี้ว่า น่าจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้คนอื่นๆ หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และออกกำลังกายมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์แล้ว ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการเผาผลาญออกซิเจนให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย ชะลอความแก่ชราได้ หากเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย

ลดอาหารเค็ม ลดเสี่ยงโรคหัวใจ
ผลการศึกษาในสหรัฐพบว่า การรับประทานอาหารที่มีเกลือให้น้อยลง ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจลงได้ถึง 1 ใน 4 และลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึงขั้นเสียชีวิตลงได้ 1 ใน 5

ก่อนหน้านี้เคยมีการศึกษาว่า หากรับประทานอาหารที่มีเกลือมากเกินไป จะเพิ่มความดันโลหิต ส่งผลให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น โดยแต่ละวันไม่ควรได้รับเกลือมากกว่า 6 กรัม ล่าสุด ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์อังกฤษ ยิ่งออกมาสนับสนุนในเรื่องนี้ โดยว่า ผู้ที่ลดปริมาณเกลือในอาหารลงราววันละ 25-35% ก็จะลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจลงได้ถึง 25% และลดความเสี่ยงเสียชีวิตเพราะโรคเดียวกันได้ 20% ด้วย

สำนักงานมาตรฐานอาหารของอังกฤษ แนะนำปริมาณเกลือที่เหมาะสมต่อการบริโภคในแต่ละวัย แต่ละวัน เด็ก 1-3 ปี ไม่ควรเกิน 2 กรัม 4-6 ปี ไม่ควรเกิน 3 กรัม 7-10 ปี ไม่ควรเกิน 5 กรัม 11 ปีขึ้นไป ไม่ควรเกิน 6 กรัม ปริมาณเกลือที่ได้รับแต่ละวันนั้น 3 ใน 4 อยู่ในอาหาร คำนวณได้จากการนำปริมาณโซเดียมที่ระบุไว้ในข้อมูลโภชนาการ คูณด้วย 2.5 โดยเป็นหน้าที่ของอุตสาหกรรมผลิตอาหารที่จะต้องจำกัดปริมาณเกลือในผลิตภัณฑ์ด้วย

เอทานอลอาจก่อปัญหาสุขภาพ
ผลการศึกษาเกี่ยวกับเอทานอล ที่หลายประเทศนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกพบว่า สร้างความเสียหายต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันเบนซินเสียอีก โดยผลวิจัยล่าสุดที่ลงในวารสารเอนไวรอนเมนทัล ไซน์ แอนด์ เทคโนโลยี ระบุว่า ยานพาหนะที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนอาจมีส่วนที่ทำให้คนเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตด้วยโรคระบบทางเดินหายใจมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเสียอีก

มาร์ก จาคอบสัน นักวิทยาศาสตร์ ด้านอากาศแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้นำในการศึกษาครั้งนี้ เผยถึงผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เอทานอลนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับที่เท่ากัน หรือมากกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพในระดับที่มากอยู่แล้ว ในการศึกษา มาร์กได้ใช้คอมพิวเตอร์จำลองสภาพอากาศสหรัฐในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่คาดว่าจะมีการนำเอทานอลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงอย่างกว้างขวาง โดยสร้างแบบจำลองเปรียบเทียบ 2 กรณี กรณีแรก ให้ยานพาหนะทุกคันใช้น้ำมันเบนซิน ส่วนอีกกรณีนั้น รถทุกประเภทจะใช้เชื้อเพลิงที่เป็นส่วนผสมระหว่างเอทานอล 85% และน้ำมันเบนซิน 15%

ผลการทดสอบพบว่า ในบางส่วนของอเมริกา เชื้อเพลิงชนิดหลังทำให้โอโซนเพิ่มจำนวนขึ้นมาก ซึ่งโอโซนเป็นต้นเหตุของปัญหาโรคหอบหืด โรคระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ

ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลก ประเมินเอาไว้ว่า ในแต่ละปีจะมีคนเสียชีวิตจากโอโซน และสารเคมีชนิดอื่นๆ ในหมอกควันพิษถึง 8 แสนคน ขณะที่ผลการศึกษาข้างต้นระบุว่า เชื้อเพลิงที่มีเอทานอลอาจจะทำให้มีคนเข้ารับการรักษาโรคทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นไปอีก

ที่มา : ขนิษฐา-posttoday

ขอบคุณ: 108-1000 เรื่อง อักษรเจริญทัศน์ (อจท.)

2 Responses to “วิธีลดปัจจัยเสี่ยงอัลไซเมอร์”

  1. gclub said

    นับวันก็จะเป็นแล้วน่ะอัลไซเมอร์

  2. casino said

    ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์

ใส่ความเห็น