:: ครูนวพร ::

  • Today’s Photo

  • Calendar:

    มิถุนายน 2009
    อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     123456
    78910111213
    14151617181920
    21222324252627
    282930  
  • Archieves:

  • จำนวนผู้เข้าชม

    • 524,339 hits

คนรักออกกำลังกายฟังทางนี้!!!

Posted by Kru nawaporn บน มิถุนายน 14, 2009

ฝึกโยคะช่วยกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงได้ 

clip_image001          สัปดาห์นี้จะกล่าวถึงการออกกำลังกายที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่คนรักการออกกำลังกาย หนุ่มๆ สาวๆ หรือกระทั่งผู้สูงอายุ และฟิตเนสตามสถานที่ต่างๆ ก็เปิดให้บริการสอนด้วย ท่านทั้งหลายคงเริ่มเดากันออกแล้วใช่ไหม การออกกำลังกายที่ว่านั่นก็คือ โยคะ

          โยคะคือ การบริหารกาย ลมหายใจ และการผ่อนคลาย (อาสนะและปราณายาม) โดยเว้นหรือข้ามส่วนที่เป็นการฝึกจิตโดยตรง ขณะเดียวกันยังคงแฝงนัยแห่งการฝึกจิตโดยอ้อมอยู่อย่างครบถ้วน คำว่าอาสนะมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่าอาส หมายถึง มีอยู่ อาศัยอยู่ใน นั่งเงียบๆ อยู่อาศัย พำนัก ตามศัพท์อาสนะหมายถึง การนั่งหรือนั่งในท่าใดท่าหนึ่ง ในเรื่องโยคะอาสนะหมายถึง ท่าและตำแหน่งต่างๆในการฝึก เช่น การยืนด้วยศีรษะ (ศีรษะอาสนะ) ท่าดอกบัว (ปัทมอาสนะ) ฯลฯ ซึ่งโยคะเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่มีประโยชน์ด้านความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและสมาธิ ท่าฝึกหลายท่ายากและมีอัตราความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บสูง ฉะนั้นผู้ฝึกควรศึกษาให้รู้จริงและระมัดระวังมากที่สุด

          ลองมาดูประวัติกันดีกว่า การฝึกโยคะมีมานานหลายพันปีแล้ว ในสมัยโบราณนั้นมนุษย์ได้ค้นคว้าเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับความเข้าใจในความเป็นอยู่ของตนเอง อดีตมีการจารึกถ้อยคำด้วยตัวอักษร ความรู้ที่สำคัญๆทั้งหมดถูกส่งผ่านคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งในรูปแบบของนิทาน ด้วยวิธีการเช่นนี้ความรู้ต่างๆจึงได้สะสมขึ้น และวัฒนธรรมต่างๆก็ได้พัฒนาขึ้นมา นี่คือวิธีการฝึกโยคะที่ถ่ายทอดมาถึงปัจจุบัน ในหุบเขาแห่งอินดัส วอลเลย์ นักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลักและศิลปะรูปปั้นที่แสดงถึงการฝึกโยคะ ศิลปะเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยประชาคมที่มีความเจริญเป็นอย่างสูง ซึ่งเจริญอยู่ในพื้นที่แถบนั้นช่วง 2,000 และ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน)

          การฝึกโยคะนั้นต่างจากการออกกำลังกายแบบอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมกัน เช่น แอโรบิก ยกน้ำหนัก หรือวิ่งอย่างสิ้นเชิง จุดประสงค์ของการฝึกอาสนะไม่ใช่การพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ แต่เพื่อฟื้นฟูจิตของกายให้กลับมาสู่สภาวะความเป็นอยู่ที่ดี ผ่อนคลาย และตื่นตัวอยู่เสมอ

          การฝึกโยคะมีผลต่อจิตของกายในทุกๆ ด้าน เช่น ในด้านร่างกายจะเกิดการผ่อนคลาย รักษาและสร้างความแข็งแรง ยืดเส้นยืดสายระบบกระดูก กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ ระบบการย่อยอาหาร ต่อมต่างๆ ในร่างกาย และระบบประสาท ผลทางด้านจิตใจจะเกิดผ่านการสร้างจิตใจที่สงบ ความตื่นตัว และสมาธิ ผลทางด้านจิตวิญญาณคือการเตรียมพร้อมสำหรับการทำสมาธิ และสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน

          สถานที่การฝึกโยคะควรเป็นที่ที่สะอาด อากาศปลอดโปร่ง ไม่มีแสงแดดส่องรบกวนตา และไม่ร้อนเกินไป แม้จะมีพื้นที่แคบก็สามารถฝึกได้ แต่ต้องเป็นที่สงบเงียบ การฝึกโยคะไม่จำกัดเวลาตายตัว แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือตอนเช้าตรู่ เพราะอากาศดี บริสุทธิ์ ทั้งนี้ ควรเป็นตอนท้องว่างและไม่เหนื่อยล้าเกินไป

          ส่วนปริมาณการฝึกจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ขอให้ปฏิบัติแล้วรู้สึกสบายทั้งกายและจิตก็ถือว่าได้ผลดีแล้ว การฝึกโยคะกับครูก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะการฝึกด้วยตนเองในช่วงแรกร่างกายอาจยังไม่เคยชินหรือยังรักษาสมดุลในร่างกายไม่ได้ อาจเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม หรือปวดเกร็งกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้

          โยคะไม่ได้ฝึกเพื่อบำบัดรักษาโรค หรือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์เหนือธรรมชาติ เพราะเป้าหมายสูงสุดของการฝึกโยคะคือความสงบและการผ่อนคลาย เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่สงบและเกิดความสมดุล โยคะก็เป็นกุญแจดอกสำคัญสำหรับการมีสุขภาพที่ดีได้

อ่านเพิ่มเติมเรื่องการฝึกโยคะได้ที่นี่ … “โยคะ ฝึกทำทุกวันเพื่อสุขภาพที่ดี”

ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้

ขอบคุณ: สาระสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนกาสร้างเสริมสุขภาพ

ใส่ความเห็น