:: ครูนวพร ::

  • Today’s Photo

  • Calendar:

    เมษายน 2024
    อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     123456
    78910111213
    14151617181920
    21222324252627
    282930  
  • Archieves:

  • จำนวนผู้เข้าชม

    • 524,204 hits

Posts Tagged ‘ฤดูร้อน’

สัญญาณแห่งฤดูกาล ‘ร้อน-แล้ง’ ปีนี้วิกฤติแค่ไหน!?

Posted by Kru nawaporn บน มีนาคม 13, 2009

จากสภาพอากาศเย็นสบายเปลี่ยนมาร้อนอ้าวสัมผัสได้ถึงความร้อนแรงของแสงแดดในเวลากลางวันและจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นความเปลี่ยนแปลงของclip_image002สภาพอากาศที่ปรากฏเป็นสัญญาณบ่งบอกการมาถึงแล้วของ ฤดูร้อน 

ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนสิ่งที่ปรากฏมีข่าวความเคลื่อนไหวควบคู่มาคือความแห้งแล้งภัยแล้งซึ่งที่ผ่านมาหลายพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังประสบภัย อีกทั้งยังมีประกาศ เตือนพายุฤดูร้อนฝนฟ้าคะนองให้ติดตาม
 
นอกจากความแล้งปรากฏ การณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นของฤดูกาล ช่วงฤดูร้อนยังมีเรื่องของ พายุฝนฟ้าคะนอง ที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งและด้วยลักษณะอากาศแห้งเอื้อต่อการเกิด อัคคีภัย ไฟป่า จึงควรเพิ่มความระมัดระวังการใช้เชื้อเพลิง การทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งใน ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วย ฯลฯ จึงควรเตรียมพร้อมดูแลสุขภาพกันไว้
 clip_image004
ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งฤดูร้อนจะเริ่มขึ้นกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางพฤษภาคม ฤดูร้อนของประเทศไทยจะเริ่มขึ้นช่วงเวลานี้ดร.สมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาเริ่มบอกเล่าพร้อมให้ความรู้สภาพอากาศสภาวะฤดูร้อนของประเทศไทยและสภาวะความแห้งแล้งว่า ภัยแล้งหรือความแห้งแล้งคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าเป็นความแห้งแล้งอย่างไร ถ้าในความหมายทั่วไปที่เรียกกันคือ ไม่มีฝน
 
ถ้าพูดถึงภาวะแห้งแล้งซึ่งหากดูภาพรวมความสมดุลของน้ำคือ
ฝนตกจากฟ้ามายังพื้นดินเรียกว่าน้ำเข้าพื้นดิน ขณะที่อีกส่วนคือน้ำที่ออกจากพื้นดิน ระเหยจากพื้นดิน ถ้ามีฝนตกลงมาอย่างสม่ำเสมอมากกว่าน้ำที่ออกไปก็ไม่แห้งแล้งเพราะพื้นดินมีความชุ่มชื้น
 
แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามฝนตกน้อยน้ำออกไปมากกว่าเข้ามานี่คือความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นกับพื้นดิน ถ้าฝนไม่ตกเป็นเวลานานอีกทั้งน้ำระเหยออกตลอดเวลาจะเรียกความแห้งแล้งนี้ว่า ความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยา คือฝนไม่ตกหรือตกน้อย คราวนี้พอเกิดความแห้งแล้งฝนไม่ตกหลายวัน น้ำที่มีอยู่ในผืนดินระเหยออก พื้นดินบริเวณนั้นไม่สามารถเพาะปลูกทางการเกษตรได้ก็จะเรียกว่า ความแห้งแล้งทางการเกษตร

ความแห้งแล้งช่วงเวลานี้เป็นฤดูกาลที่เปลี่ยนจากฤดู  หนาวพื้นดินแห้ง ดินแตกระแหงเกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชได้ พอเกิดขึ้นนานเข้าน้ำที่มีอยู่ ในบ่อในสระ ในลำคลองอะไรก็แล้วแต่ ฯลฯ แห้งระเหยหมด
 
น้ำที่นำมาใช้ดื่มกินระเหยไปเพราะฝนไม่ตกนานก็จะเป็นความแห้งแล้งทางอุทกวิทยา ส่วนอีกความแห้งแล้งฝนไม่ตกเลย 
เหมือนในต่างประเทศซึ่งฝนไม่ตกยาวนาน 4-5 เดือน ปลูกพืชไม่ได้มนุษย์ สัตว์ไม่มีน้ำกิน น้ำใช้ ฯลฯ ก็จะเกิดความแห้งแล้งอันดับสุดท้ายซึ่งเป็นความแห้งแล้งสุด เรียกว่า ทุกขพิกภัย ภัยธรรมชาติที่เกิดจากฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล สภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แต่ไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้ง ระดับใดก็ตามหลายหน่วยงาน ได้เร่งให้ความช่วยเหลือบรรเทาความแล้งให้แก่ผู้ที่กำลังประสบภัย
 
ปีนี้อากาศเริ่มร้อนต่อเนื่องมาซึ่งจากนี้ไปอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นที่โชคดีของประเทศไทย ซึ่งพอเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนปีนี้และแทบทุกปีก็จะมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ซึ่งเป็นมวลอากาศเย็นลงมา ประเทศไทยจากที่สะสมความร้อนอยู่ พออากาศเย็นและแห้งเจอกันก็เกิดพายุฤดูร้อน อย่างที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีฝนตกลูกเห็บตก ซึ่งก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่เข้าสู่ฤดูร้อน

สภาพอากาศของประเทศไทยทุกปีเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนจะไม่มีอากาศร้อนต่อเนื่องโดยที่ไม่มีฝนตก อย่างที่กล่าวมาเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนแล้วโชคดีมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนลงมาก็จะมีฝน อากาศที่ร้อนอยู่ ก็จะลดลง พอฝนหายไปก็จะสะสมความร้อนขึ้นใหม่ พอมวลอากาศเย็นมาอีกระลอกก็จะมีฝนตกอีกclip_image006

พอเข้าสู่ฤดูร้อนปีนี้แน่นอน อากาศจะร้อน อย่างกุมภาพันธ์เป็นต้นมามีการสะสมความร้อน 37 38 39 องศาเซลเซียส ก็มีแต่ก็ไม่ได้เกิดในหลายพื้นที่และพอสะสมได้พักหนึ่ง อย่างที่กล่าวมาอากาศเย็นลง ลักษณะอากาศเช่นนี้จะมีให้สัมผัสตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคมและในเดือนเมษายน

ในเดือนเมษายนจะเป็นช่วงอุณหภูมิฤดูร้อนสูงสุด บางจังหวัดอาจมีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่าแต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้สูงหลายวัน ส่วนในเดือนนี้โอกาสที่อุณหภูมิสูงบางจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางพื้นที่ก็อาจมีได้

จากข้อมูลนี้ดูจากสภาพอากาศร้อนของประเทศไทยและจากการคาดหมายลักษณะอากาศพบว่าช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ลานีญาครอบคลุมอยู่ซึ่งประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้วมาถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้ซึ่งแสดงว่า ช่วงฤดูร้อนปีนี้อากาศจะไม่สูงเท่าไหร่ ความชื้นมากก็พอจะคาดหมายได้ว่าค่าอุณหภูมิจะใกล้เคียงกับค่าปกติ

ส่วนอากาศร้อนที่กล่าวกันเป็นความร้อนตามปกติของช่วงต้นฤดูร้อนเป็นร้อนปกติ ซึ่งในความเข้าใจส่วนตัวมองว่าจากความเคยชินในฤดูหนาวที่ผ่านมาซึ่งช่วงการเกิดฤดูหนาวก็ปกติ แต่ว่าเนื้อในของฤดูหนาวนั้นหนาวนาน หนาวหลายวันก็จะมีความเคยชิน พอจากฤดูหนาว เข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเร็ว   ก็เลยมีความรู้สึกว่าร้อนกว่าปกติ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นปกติของฤดูร้อน

clip_image008 สำหรับฝนที่ตกลงมาเป็นสิ่งดี นอกจากช่วยลดคลายความร้อนแล้วยังช่วยให้พื้นที่นอกเขตชลประทานได้รับฝนเพื่อนำไปใช้ทำการเกษตร บรรเทาความแห้งแล้งความร้อน แต่ปัญหาช่วงที่อากาศเย็นพัดลงมาปกคลุมสิ่งที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังคือ พายุฤดูร้อน

ช่วงเดือนนี้ เดือนหน้าและในเดือนพฤษภาคมกรมอุตุนิยมวิทยาย้ำเตือนต่อเนื่องคือเรื่องพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น อย่างที่ได้ทราบและประกาศเตือนลักษณะของพายุฤดูร้อนจะมีลมกระโชกแรงมากต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ กิ่งไม้ที่ผุพังต้องตัดทิ้ง บ้านเรือนหลังคาบ้านที่ไม่มั่นคงต้องดูแลเตรียมความพร้อมไว้
 
ส่วนสิ่งที่จะช่วยสังเกต ก่อนการเกิดพายุฤดูร้อนนั้นสามารถรู้สึกได้ถึงอากาศร้อนอ้าวหลายวันติดต่อกัน สังเกตท้องฟ้าดูว่ามีเมฆครึ้มดำหรือไม่ถ้าร้อนมาหลายวันแล้วมีเมฆดังกล่าวก็ให้ระวังพายุฤดูร้อน ยิ่งก้อนเมฆเคลื่อนผ่านต้องระวังเพราะพายุจะเกิดใต้ฐานเมฆ ลมจะมาแต่ไกลให้ระมัดระวังอย่าอยู่กลางแจ้งให้อยู่ในที่ร่มที่มั่นคง อีกทั้งสิ่งของที่เป็นโลหะอย่าใส่ออกไปและไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงอะไร ก็ตาม อย่าปล่อยไว้กลางแจ้ง   ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีความเคลื่อนไหวมีเหตุการณ์ฟ้าผ่าจากการเกิดพายุฤดูร้อนให้ติดตามอยู่เสมอ
 
นอกจากฤทธิ์แรงลมพายุช่วงฤดูร้อน
อีกสิ่งที่ต้องระวังคือ ลูกเห็บ ลูกเห็บจะตกมาพร้อมกับพายุมาพร้อมลมกระโชกแรง ฝนตกแรงและขณะที่อุณหภูมิ สูงช่วงเดือนเมษายนซึ่งมีโอกาสร้อนจัด ไม่ควรอยู่กลางแจ้ง  เป็นเวลานานเพราะอาจทำให้เสียเหงื่อได้มาก พอเสียเหงื่อมาก ร่างกายจะขาดน้ำโดยเฉพาะผู้สูงอายุอากาศร้อนขาดน้ำอาจทำให้ช็อกได้ต้องระมัดระวัง เช่นเดียวกับการออกไปในพื้นที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานควรพกร่ม สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม ผู้อำนวยการท่านเดิมกล่าว
 
จากฤดูร้อนที่กำลังเริ่มขึ้นและก่อนจะถึงช่วงเมษายนที่สัมผัสได้ชัดถึงความอบอ้าวของสภาพอากาศร้อน รวมถึงอาจต้องเผชิญกับฝนฟ้าคะนองพายุฤดูร้อนที่อาจสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน ทรัพย์สิน ฯลฯ และแม้จะเป็นที่ทราบกันแต่ก็ไม่ควรประมาท มองข้ามและเพื่อหลีกไกลจากความสูญเสีย ควรใกล้ชิดติดตามสภาพอากาศ สำรวจซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างให้มั่นคง เตรียมความพร้อมกันไว้แต่เนิ่น ๆ จะได้มั่นใจ ปลอดภัยกันในช่วงฤดูร้อนนี้.

ขอบคุณ: บทความการศึกษา วันที่ 3 มีนาคม 2552 อักษรเจริญทัศน์ (อจท.)

Posted in ธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม | Tagged: , , | Leave a Comment »