:: ครูนวพร ::

  • Today’s Photo

  • Calendar:

    พฤษภาคม 2024
    อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
     1234
    567891011
    12131415161718
    19202122232425
    262728293031  
  • Archieves:

  • จำนวนผู้เข้าชม

    • 524,241 hits

Posts Tagged ‘อาหารขยะ’

ชี้จังค์ฟูดมีฤทธิ์เสพติด

Posted by Kru nawaporn บน สิงหาคม 24, 2010

เทียบเท่าการสูบบุหรี่ และเฮโรอีน

 

clip_image001เนื่องจากอาหารที่อุดมด้วยไขมันและน้ำตาลกระตุ้น ‘ศูนย์กลางความพอใจ’ ในสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้คนเราติดยาเสพติด ส่งผลให้เกิดการติดอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน

 

การค้นพบนี้อาจช่วยอธิบายได้ว่า เหตุใดโรคอ้วนจึงแพร่ระบาดทั่วโลก เช่นเดียวกับความสำเร็จของ chain จังค์ฟูด

 

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญศึกษาจากหนูทดลองที่ถูกเลี้ยงด้วยชีสเค้ก เบคอนและไส้กรอก ไม่นานหลังจากการทดลองเริ่มต้นขึ้น หนูเริ่มมีไขมันสะสมและแสดงสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการเสพติด

 

“นี่แสดงถึงหลักฐานที่ชัดเจนและซับซ้อนที่สุดว่าการติดยาเสพติดและโรคอ้วนอิงอยู่บนกลไกทางประสาทชีววิทยาเดียวกัน

 

“ในการศึกษา สัตว์สูญเสียการควบคุมพฤติกรรมการกินของตัวเองอย่างสิ้นเชิง และยังคงกินต่อไปแม้เมื่อคาดว่าจะถูกช็อตด้วยไฟฟ้าก็ตาม ซึ่งตอกย้ำวิธีที่หนูเหล่านี้ถูกชักจูงให้กินอาหารขยะ” ศาสตราจารย์พอล เคนนี ผู้นำการวิจัยกล่าว

 

ระหว่างการทดลอง หนูจะได้รางวัลด้วยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเบาๆ ที่ทำให้รู้สึกสบาย โดยหนูสามารถควบคุมการกระตุ้นได้ด้วยการวิ่งบนวงล้อ ซึ่งผลปรากฏว่าหนูที่กินอาหารขยะวิ่งมากกว่า บ่งชี้ว่าต้องการการกระตุ้นสมองเพื่อให้รู้สึกดี

 

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสคริปส์ในจูปิเตอร์ ฟลอริดา ยังใช้ไฟฟ้ากระตุ้นที่เท้าขณะที่หนูกินอาหารไขมันสูง ซึ่งพบว่าหนูที่กินอาหารปกติเรียนรู้อย่างรวดเร็วที่จะหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่หนูที่กินอาหารขยะเป็นประจำจะไม่ยอมให้การช็อตไฟฟ้ามาขัดขวางการกินอาหาร

 

“หนูเหล่านี้จะวิ่งเข้าหาอาหารที่แย่ที่สุดเสมอ เมื่อเราเอาอาหารขยะออกและเอาอาหารที่มีประโยชน์ไปให้แทน พวกมันจะไม่ยอมกินเฉยๆ” ศาสตราจารย์เคนนีสำทับ

 

นักวิจัยพบว่าอาหารขยะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสมดุลสารเคมีในสมองส่วน ‘วงจรรางวัล’ ซึ่งเป็นส่วนที่จัดการโดพามีน หรือฮอร์โมนความรู้สึก

 

การเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในสมองของหนูที่ได้รับโคเคนหรือเฮโรอีน และนักวิจัยเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีบทบาทสำคัญในการติดยาเสพติด

 

ที่มา: เฮลล์คร์อนเนอร์

 

ขอบคุณ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Posted in นานาสาระ ..., สุขภาพ และโภชนาการ | Tagged: , , , , , , | Leave a Comment »